วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สรุปการไปfield trip

สรุปการไปfield trip ที่ศูนย์ศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจ.เชียงใหม่ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2551


วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2551

เวลา 07.00 น. ก็ไป field trip ที่ศูนย์ฯเดินทางโดยรถตู้จำนวน 4 คัน มีนักเรียนจำนวน 39 คน ครู 4 คน ในระหว่างการเดินทางเส้นทางจะคดเคี้ยวมากๆจึงทำให้เมารถมาถึงศูนย์ฯก็เวลา09.00 น. ก็ขนของมาไว้ที่อาคารอเนกประสงค์เพื่อทำพิธีเปิดการเข้าค่ายอบรมประธานในพิธีคือ
มล.นภดล จรูญโรจน์ ณ อยุธยา หลังจากนั้นเป็นกิจกรรมนันทนาการเพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างพิธีกรและเด็กรวามทั้งการการฝึกระเบียบวินัยได้แก่ ระเบีบแถว เนื่องจากศูนย์มีการฝึกทหารการไปเรียนรู้จึงจะต้องมีระเบีบวินัยอยู่เสมอจากนั้นก็ขนของเข้าห้องพักโดยผู้ชายพักบ้านหลังที่ 14 ผู้หญิงพักบ้านหลังที่ 6 และก็พักรับประทานอาหารกลางวันในการรับประทานอาหารกลางวันจะต้องมีการท่องคำปฏิญาณให้รับประทานให้หมดจะไมพูดกันในขณะรับประทานอาหาร
จากนั้นพี่วิทยากรก็พาเข้าห้องประชุมเพื่อรับชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและก็ไปศึกษานิทรรศการความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดทฤษฏี เป็นต้นเมื่อศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ไปศึกษาฐานการเพาะเห็ด ฐานการทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในการเลี้ยงหมูหลุม เลี้ยงเป็ดเทศ เลี้ยงไก่ เลี้ยงแพะ เลี้ยงแกะ เป็นต้น หลังจากนั้นก็มาเล่นฟุตบอลกับผู้ชายและก้รับประทานอาหารกลางวัน เวลา 1 ทุ่ม ก็มีกิจกรรมนันทนาการในกลางคืนสร้างความสนุกสนานและความกล้าแสดงออกจนถึงเวลา 20.30 น. ก็กลับเข้าที่พักเพื่อพักผ่อน

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2551
ตื่นนอนเวลา 05.30 น. ล้างหน้าแปรงฟัน ก็มาออกกำลังกายกับวิทยากรและช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ล้างห้องน้ำ เก็บขยะเป็นต้นรับประทานอาหารเวลา 08.30 น. ก้ไปเรียนรู้การทำกระดาษสาและการปั้นดินจากวิทยากรจากนั้นพี่วิทยากรก็พาไปดำนา ปลูกข้าวและก็รับประทานอาหารกลางวันและเก็บของช่วยกันทำความสะอาดที่พักและก็มาตะลุยฐานทดสอบกำลังใจ จำนวนทั้งหมด 9 ฐาน จากนั้นก็อาบน้ำ และก็ทำพิธีปิดการเข้าค่ายอบรม
ระหว่างการเดินทางกลับคุณครูก็พาแวะซื่อของฝากและเดินทางต่อจนถึงโรงเรียนในเวลา 17.00 น.

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ถุงผ้า

การนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกลุ่มของดิฉันได้ทำ ถุงผ้า
วัตถุประสงค์
1.ลดภาวะโลกร้อน
2.ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อถุงพลาสติก
อุปกรณ์
1.เศษผ้า
2.เข็ม
3.ด้าย
วิธีทำ
ตัดผ้าให้เป็นรูปทรงแล้วนำมาเย็บให้เข้ารูปนำเศษผ้าที่เหลือมาทำสายหรือที่หิ้วแล้วตกแต่งให้สวยงาม

การนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

การนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ห้องของหนูก็จะให้เลือกทำสิ่งที่สนใจที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
๑ ปุ๋ยก้อนจากกระดาษเหลือใช้
๒ การปลูกผักสวนครัว
๓ การปลูกผักบุ้ง
๔ การประดิษฐ์ถุงจากสิ่งของเหลือใช้
๕ บัญชีรายรับ-รายจ่าย
๖ การปลูกถั่วงอก
๗ การปลูกผักกาด
๘ การออมทรัพย์
ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
๑.พอมีพอกิน ปลุกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้างปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน๒-๓ต้น พออที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
๒พออยู่พอใชทำให้บ้านหน้าอยู่ปราศกจากสารเคมีกลิ่นเหม็นใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ( ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้านจะสะอาดกว่าน้ำยาเคมี)รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น(ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
๓.พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอประมาณตน "การจะเป็นเสื่อนั้นไม่สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน"
ประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง
๑ ทำให้ประชาชนมีกินตามอัตภาพ
๒ ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถนำน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆที่ใช้น้ำน้อยๆได้
๓ ทำให้เวลาขาดแคลนเงินสามรถนำเงินที่เก็บออมไว้มาใช้ได้ในยามฉุกเฉิน

หลักแนวคิดและทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง

หลักแนวคิดและทฤษฏีของเศรษฐกิจพอเพียง
ยึดหลักสามห่วงสองเงื่อนไข
สามห่วงได้แก่ความพอประมาณ,ความพอประมาณ,การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
สองเงื่อนไขได้แก่ เงื่อนไขความรู้ ความรอบรู้,ความรอบคอบ,ระมัดระวัง
เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์,สุจริต,ขยัน,อดทน,แบ่งปัน
นำไปสู่ ชีวต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน

ประวัติความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประวัติและความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นนแนวทางการดำเนนชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่ผสกนิกรชาวไทยมานานกว่า30ปีดังจะเห็นได้ว่าปรากฏความหมายเป็นเชิงนัยเป็้นครั้งแรกในพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีพ.ศ2517ที่พระองคืได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาบนหลักแนวคิดพึ่งตนเองเพื่อให้เกิดความพอมีพิกินพอใช้ของคนส่วนใหญ่โดยใช้หลักความพอประมาณการคำนึงถึงการมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันในตัว

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
" เศรษฐกิจพอเพียง"(suffieieney Eeonomy)เ เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงชีวิตและปฎิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์
"ความพอเพียง" หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบในการทำงานอีกด้วย